ช่องทางรับฟังความคิดเห็น     คลังเอกสาร     คำถามที่พบบ่อย     ถาม-ตอบ      มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี    

ยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์


 แผนกลยุทธ์กองคลัง

ยุทธศาสตร์

- พัฒนาระบบ บริหารและการจัดการ โดยให้บุคลากรกองคลังมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการใช้งาน และ

- ยกระดับการให้บริการ การจัดการระบบสารสนเทศด้านการคลังการพัสดุและการบัญชี ที่มีประสิทธิภาพ และความปลอดภัย สูงสุด เป็น “ดิจิตอลการเงินและการพัสดุ ที่มีความปลอดภัยสูงสุด”

เป้าประสงค์

- ส่งเสริม สนับสนุนและสร้างการรับรู้ให้แก่ ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง อันประกอบด้วย นักวิชาการเงิน นักวิชาการพัสดุ ผู้จัดทำบัญชี ผู้บริหาร ให้เกิด การรับรู้ ความรู้ ความเข้าใจ ในการเปลี่ยนไปสู่ระบบ ดิจิตอลการเงินการคลังและการพัสดุ

- ส่งเสริมการบริหาร การจัดการด้านการเงิน การคลัง การพัสดุ และการบัญชี ตามหลักธรรมภิบาล

- ส่งเสริมสนับสนุน การบริหารและการจัดการด้านการเงิน การคลัง การพัสดุ และการบัญชีให้มีเสถียรภาพ ทั้งภายใน และภายนอก

- ส่งเสริมสนับสนุน ในการพัฒนาระบบสารสนเทศ ใช้ในการบริหารและการจัดด้านการเงิน การคลัง การพัสดุ และการบัญชี ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อย่างแท้จริง

กลยุทธ์

(1) พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านการคลัง

มาตรการ

(1) สร้างการรับรู้ พัฒนาทักษะ ให้แก่ ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงานด้านการเงิน การคลัง การพัสดุ และการบัญชี ให้สอดคล้องกับ ดิจิตอลไทยแลนด์

(3)ส่งเสริม สนับสนุนให้บุคลากร เข้ารับการอบรม หลักสูตรในวิชาชีพ

กลยุทธ์

(2) พัฒนาสื่อการให้ความรู้ด้านการคลัง

มาตรการ

(1) สร้างการรับรู้ ตื่นรู้ โดยการจัดเวทีประชุม กลุ่มย่อม กลุ่มงาน และกองคลัง รวมทั้ง จัดทำเอกสาร หลักฐาน ผลงานวิชาการ รูปแบบงานวิเคราะห์ สังเคราะห์ การวิจัย เป็นต้น เผยแพร่ข่าวสาร ให้ผู้เกี่ยวข้องในกองคลังเครือข่าย

(2) พัฒนาเว็บไซต์กองคลัง ให้สอดคล้องกับ ดิจิตอลไทยแลนด์

(3) สร้างการรับรู้ ตื่นรู้ ผ่านกลุ่มเครือข่าย หรือผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น Facebook, Line

กลยุทธ์

(3) พัฒนากระบวนการปฏิบัติงาน

มาตรการ

(1) การลดขั้นตอน ลดเวลา ในการปฏิบัติงาน ลดเอกสารปฏิบัติราชการ

(2) ใช้ คู่มือการปฏิบัติงาน โดย บังคับใช้ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน

กลยุทธ์

(4) พัฒนาระบบฐานข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐานด้านการเงิน การพัสดุ และการบัญชี

มาตรการ

พัฒนาระบบสารสนเทศฐานข้อมูลด้านการเงิน การคลัง การพัสดุ และการบัญชี ที่สนับสนุนการปฏิบัติราชการ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

กลยุทธ์

(5) พัฒนาประสิทธิภาพของการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน

มาตรการ

การทบทวนและจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในที่สอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

 

ตัวชี้วัด

๑)     กระบวนการปฏิบัติราชการ มีประสิทธิภาพ ประสิทธิภาพ ในการบริหาร การจัดการ ด้านการเงินการคลังและการพัสดุ

๒)     ระดับความสำเร็จในการสื่อการ ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน คนในสังคม และชุมชนเกิดการรับรู้ ร้อยละร้อย

๓)     ระดับความสำเร็จในกระบวนมีการลดขั้นตอนการปฏิบัติราชการเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 50

๔)     กระบวนงานตามพันธกิจหลักของกองคลัง นำเทคโนโลยีดิจิตอล มาใช้ในการดำเนินการเพื่อส่งเสริม สนับสนุนภารกิจของมหาวิทยาลัย

๕)     ระดับความสำเร็จการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในร้อยละร้อย

 

  << ดาวน์โหลดเอกสาร แผนกลยุทธ์กองคลัง >>